วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558

การคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่น



การคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่น...

             ภูมิปัญญาเป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่ผู้คิดค้นสร้างสรรค์ควร ได้รับสิทธิ์ประโยชน์จากภาครัฐในแง่การคุ้มครองและดูแลไม่ให้มีผู้ละเมิด การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญา เช่น
 
ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวหรือสิทธิพิเศษในงานที่ สร้างสรรค์ ผู้เป็นเจ้าของมีสิทธิ์เพียงผู้เดียว หากผู้อื่นจะใช้ประโยชน์ ต้องขออนุญาต เช่น ลายผ้า การแสดงวรรณกรรม
 
สิทธิบัตร หมายถึง สิทธิพิเศษ เป็นโฉนดทางปัญญา ให้ความ คุ้มครอง 2 ด้าน คือ ด้านการประดิษฐ์ และด้านการออกแบบ สิ่ง ประดิษฐ์ที่จดสิทธิบัตรแล้วสามารถต่อยอดเป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ และ จดสิทธิบัตรใหม่ได้ อายุการคุ้มครองสิทธิบัตรการประดิษฐ์ และ สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ 20 ปี และ 10 ตามลาดับ สิ่ง ประดิษฐ์ที่ได้จดสิทธิบัตรแล้ว เช่น กังหันชัยพัฒนา น้ามันไบโอดีเซล

อนุสิทธิบัตร เป็นการคุ้มครองการประดิษฐ์ที่มีขอบเขตการ คุ้มครองเช่นเดียวกับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ แต่เป็นการประดิษฐ์ที่มี เทคนิคไม่สูงมากนัก มีอายุการคุ้มครอง 6 ปี
ทั้งนี้ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์เป็นหน่วยงาน ที่รับผิดชอบดูแลเรื่องการคุ้มครองภูมิปัญญาตามกฎหมาย
 
หน่วยงานรับผิดชอบในส่วนของกรมส่งเสริมการเกษตร

                กรมส่งเสริมการเกษตรได้จัดให้มีกลุ่มงานภูมิปัญญาท้องถิ่น ภายใต้สานักพัฒนาเกษตรกร ตามนโยบายปฏิรูประบบราชการ เพื่อ รับผิดชอบในการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ โดยมี หน้าที่ดังนี้
1. ศึกษา รวบรวม และจัดทาฐานข้อมูลองค์ความรู้เกี่ยวกับ เทคโนโลยีพื้นบ้าน และ ภูมิปัญญาท้องถิ่น 

 2. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการศึกษา ทดสอบ และพัฒนา ภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยเน้นการมีส่วนร่วมของเกษตรกร

 3. บริหารและจัดการให้เกิดการทางานเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา เอกชน และองค์กรเกษตรกร/ ชุมชนอย่างเป็นระบบ ในการพัฒนา บ่มเพาะ และถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น 

 4. ส่งเสริมสนับสนุนการผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นกับ เทคโนโลยีสากลให้เกิดนวตกรรมด้านการเกษตร

 5.สนับสนุน และประสานให้เกิดการปกป้องคุ้มครองสิทธิประโยชน์ และทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น