วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558

ลักษณะสาคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น



ลักษณะสาคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น...

1. เป็นความรู้แบบองค์รวมที่เกิดจากการเชื่อมโยงความรู้หรือกิจกรรม ทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต
2. เป็นวิถีความสัมพันธ์ที่สมดุลระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติ และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ 3. มีลักษณะเป็นพลวัต (Dynamics) คือ เปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัย และมีพัฒนาการอยู่ตลอดเวลา 4. มีวัฒนธรรมเป็นพื้นฐาน 5. มีลักษณะเฉพาะหรือเอกลักษณ์ในตัวเอง
 
การแบ่งประเภทภูมิปัญญาท้องถิ่น...
ประเภทหรือการจัดกลุ่มของภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการจัดแบ่งได้ หลายลักษณะ เช่น
 
การจัดแบ่งลักษณะที่ 1
         ภูมิปัญญาที่เป็นนามธรรม ได้แก่ มโนทัศน์ การตระหนักรู้ วิธีคิด ความเชื่อ ปรัชญาในการดาเนินชีวิตของผู้คน
        ภูมิปัญญาที่เป็นรูปธรรม ได้แก่ เทคโนโลยีการทามาหากิน การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แพทย์พื้นบ้านและการ ดูแลสุขภาพ การเกษตร ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม เครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ ฯลฯ
 การจัดแบ่งลักษณะที่ 2 ภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับความอยู่รอดหรือชีวิตความเป็นอยู่ ซึ่งได้แก่ ปัจจัยสี่ คือ อาหาร ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม และที่อยู่อาศัย 

  อาหารไทย มีองค์ประกอบหลักเป็นผักพื้นบ้านหรือสมุนไพรที่มี สรรพคุณเสริมหรือต้านฤทธิ์กัน มีความเหมาะสมกลมกลืนทั้งในด้านคุณ ประโยชน์และฤดูกาลบริโภค 

ยารักษาโรค เป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่ชาวบ้านใช้ทั้งรักษาอาการเจ็บ ป่วยและดูแลสุขภาพ

 เครื่องนุ่งห่ม มีการเลือกใช้วัสดุพื้นบ้านและวิธีการนุ่งห่มที่เหมาะสม กับสภาพอากาศโดยมีลายผ้าและวิธีการถักทอที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น 

ที่อยู่อาศัย มีรูปแบบและโครงสร้างที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ประโยชน์ใช้สอย และชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยในแต่ละภูมิภาค

ภูมิปัญญาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการทามาหากิน เช่น การกาจัด ศัตรูพืชแบบพื้นบ้าน การย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ การจักสาน หัตถกรรม การ ทาเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ
 
ภูมิปัญญาที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม ประเพณี พิธีกรรม ความเชื่อ และตานาน ต่างๆ 

ประเพณีและพิธีกรรม เช่น บุญบั้งไฟ การบวชป่า การผูกเสี่ยว ทาขวัญต่างๆ 

ตานาน ความเชื่อ เช่น บั้งไฟพญานาค 

การละเล่นพื้นบ้าน เช่น เต้นการาเคียว ฯลฯ

การจัดแบ่งลักษณะที่ 3 ภูมิปัญญาของตัวบุคคล (Individual wisdom) เป็นความรู้ ความสามารถ ความคิด วิธีการ ของบุคคล เช่น ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม จากจังหวัดฉะเชิงเทรา ในเรื่องนวเกษตร ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญาพฤทธิ์ จากจังหวัดบุรีรัมย์ ในเรื่องการปรับใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
 
ภูมิปัญญาของชุมชน ( Local wisdom ) เป็นภูมิปัญญาที่ สั่งสม สืบสาน อยู่ในวัฒนธรรมท้องถิ่น หรือในชุมชน ไม่มีตัวบุคคลใด บุคคลหนึ่งเป็นเจ้าของ อาจเรียกอีกนัยหนึ่งว่าเป็นภูมิปัญญานิรนาม เช่น ภูมิปัญญาการทอผ้าแพรวาของชุมชนชาวผู้ไท จังหวัดกาฬสินธุ์ การทาไข่เค็ม ไชยา ของชาวสุราษฎร์ธานี
 
ภูมิปัญญาในภาพรวมของประเทศ ( National wisdom ) เป็นภูมิปัญญาที่บ่งบอกองค์ความรู้ หรือความสามารถของคนในภาพรวม ของประเทศ เช่น ภูมิปัญญาอาหารไทย สมุนไพรไทย ผ้าไหมไทย มวยไทย



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น