วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558

การจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่น



การจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่น
เนื่องจากภูมิปัญญาท้องถิ่นมีลักษณะเป็นพลวัตที่เปลี่ยนแปลงได้ตาม สภาวะแวดล้อม กาลเวลา และกระแสวัฒนธรรมใหม่ ดังนั้น จึงต้องมีแนวทาง ในการจัดการภูมิปัญญา เพื่อให้ภูมิปัญญาดีดีนั้นคงอยู่ หรือปรับปรนให้ เหมาะสมกับยุคสมัย การจัดการภูมิปัญญา มี 4 แนวทาง ดังนี้
 
1. อนุรักษ์ (Conservation) เพื่อให้ภูมิปัญญาที่มีคุณค่าหรือมี ความสาคัญต่อชุมชน แต่กาลังจะหายไปคงอยู่ต่อไป เช่น การอนุรักษ์ประเพณี วัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ สามารถสร้างเป็นแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน และ สร้างรายได้แก่คนในชุมชนได้ การอนุรักษ์ภูมิปัญญาจะเกิดขึ้นได้เมื่อ · ชุมชนมีความภาคภูมิใจและเห็นความสาคัญ ต้องการสร้างคุณค่า ให้ปรากฏและสืบสานให้คงอยู่ · มีมูลค่าเป็นแรงจูงใจ

2. รื้อฟื้น (Recovery) เพื่อให้ภูมิปัญญาที่สาคัญหรือมีคุณค่า แต่หายไปแล้วถูกนากลับมาใช้ใหม่ และมีโอกาสประยุกต์ให้ร่วมสมัยเพื่อใช้ ประโยชน์ต่อไปได้ เช่น ลายผ้าทอพื้นบ้านที่เป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่นหายไป เมื่อทาการค้นหา รื้อฟื้น และสร้างชิ้นงานใหม่บนฐานภูมิปัญญาเดิม จะทาให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้นมาได้

3. ประยุกต์ (Modification) เพื่อให้ภูมิปัญญานั้นเหมาะสม กับสภาวะแวดล้อมใหม่ โดยคงไว้ซึ่งแนวคิดหรือฐานความรู้เดิม เช่น หัตถกรรมจากไม้ไผ่ ประยุกต์ใหม่เป็นการให้ผักตบชวาในแหล่งที่มี ผักตบชวาเป็นจานวนมาก เป็นต้น
 
4. พัฒนาต่อยอด ( Development ) เพื่อให้เกิดการ ใช้ประโยชน์ได้กว้างขึ้น โดยการผสมผสานองค์ความรู้สากลเข้ากับ ภูมิปัญญาเดิม อาจเรียกได้ว่าเป็นการสร้างภูมิปัญญาใหม่หรือสิ่งใหม่ ( นวัตกรรม : innovation ) เป็นการสร้างทางเลือกที่ช่วยให้ใช้ ประโยชน์ในสังคมปัจจุบันได้สะดวกสบายขึ้นโดยไม่ทาลายล้างคุณค่า หรือรากเหง้าเดิม เช่น สีย้อมจากธรรมชาติได้มีการพัฒนาเป็นผง สาเร็จรูป และมีกรรมวิธีในการย้อมที่ง่ายกว่าวิธีดั้งเดิม หรือสมุนไพร พื้นบ้านที่ผลิตในรูปแคปซูล หรือปลาร้าผงปลาร้าก้อนที่สะดวกต่อการ บริโภค และการพกพาไปยังที่ต่างๆ

 

การจัดการ หรือ การพัฒนา ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีกระบวนการเรียนรู้ เป็นพื้นฐานและมีขั้นตอนการดาเนินงาน ดังนี้

 1. รวบรวม · ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีอยู่มากมาย ต้องเก็บรวบรวมและจัดหมวดหมู่ อย่างเป็นระบบ · การเก็บรวบรวมทาได้หลายวิธี เช่น การสอบถาม การสัมภาษณ์ การจัดเวทีชาวบ้านเพื่อให้ชาวบ้าน ผู้รู้ในชุมชน มีส่วนร่วมในการ ให้ข้อมูล · การจัดหมวดหมู่ จัดได้หลายรูปแบบตามวัตถุประสงค์ของการนา ไปใช้ประโยชน์ เช่น 

๏ จัดตามกลุ่มของภูมิปัญญา เช่น ภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับการทามา หากิน ภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับประเพณีและวัฒนธรรม

๏ จัดตามแหล่งของภูมิปัญญา เช่น ภูมิปัญญาของภาคจังหวัด ชุมชน
 
2. วิเคราะห์ · เพื่อดูว่าภูมิปัญญานั้นควร อนุรักษ์ หรือ รื้อฟื้น หรือ ประยุกต์ หรือ พัฒนาต่อยอด โดย พิจารณาจากความเหมาะสม ความสาคัญ การใช้ประโยชน์ ความเป็นไปได้ และโอกาสของการพัฒนา

3. กลั่นกรอง จัดลาดับ และคัดเลือกภูมิปัญญาเพื่อดาเนินการต่อ (อนุรักษ์ รื้อฟื้น ประยุกต์ หรือ พัฒนาต่อยอด) โดยเน้นการได้ประโยชน์ของชุมชนเจ้าของ เรื่องเป็นลาดับแรก 

 4. พัฒนาเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ได้กว้างขึ้น

 5. ทดสอบความเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นหรือสภาวะแวดล้อมที่จะนา ภูมิปัญญานั้นไปใช้ประโยชน์ 

 6. เผยแพร่ ขยายผล ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งการขยายผลเฉพาะกลุ่ม (Specitic group target) หรือขยายผลในวงกว้าง (Mass communication)

 7. สร้างเครือข่ายการดาเนินงาน เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยง ผนึกกาลัง และ แบ่งงานกันตามศักยภาพและบทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น