วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

การจัดแบ่งสาขาภูมิปัญญาไทย

การจัดแบ่งสาขาภูมิปัญญาไทย
                จากการศึกษาพบว่า  มีการกำหนดสาขาภูมิปัญญาไทยไว้อย่างหลากหลาย  ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และหลักเกณฑ์ต่างๆ  ที่หน่วยงาน  องค์กร  และนักวิชาการแต่ละท่านนำมากำหนดในภาพรวมภูมิปัญญาไทยสามารถแบ่งได้เป็น  ๑๐  สาขา  ดังนี้

. สาขาเกษตรกรรม หมายถึง  ความสามารถในการผสมผสานองค์ความรู้  ทักษะ  และเทคนิคด้านการเกษตรกับเทคโนโลยี  โดยการพัฒนาบนพื้นฐานคุณค่าดั้งเดิม  ซึ่งคนสามารถพึ่งพาตนเองในภาวการณ์ต่างๆ  ได้  เช่น  การทำการเกษตรแบบผสมผสานสวนเกษตร  เกษตรธรรมชาติ  ไร่นาสวนผสม  และสวนผสมผสาน  การแก้ปัญหาการเกษตรด้านการตลาด  การแก้ปัญหาด้านการผลิต  การแก้ปัญหาโรคและแมลง  และการรู้จักปรับใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการเกษตร  เป็นต้น

. สาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม หมายถึง  การรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการแปรรูปผลิตผล  เพื่อชะลอการนำเข้าตลาดเพื่อแก้ปัญหาการบริโภคอย่างปลอดภัย  ประหยัด  และเป็นธรรม  อันเป็นกระบวนการที่ทำให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถพึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจได้  ตลอดทั้งการผลิตและการจำหน่ายผลิตผลทางหัตถกรรม  เช่น  การรวมกลุ่มของกลุ่มโรงงานยางพารา  กลุ่มโรงสี  กลุ่มหัตถกรรม  เป็นต้น

. สาขาการแพทย์แผนไทย หมายถึง  ความสามรถในการจัดการป้องกันและรักษาสุขภาพของคนในชุมชน  โดยเน้นให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองทางด้านสุขภาพและอนามัยได้  เช่น  การนวดแผนโบราณ  การดูแลและรักษาสุขภาพแผนโบราณไทย  เป็นต้น

. สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง  ความสามรถเกี่ยวกีบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ทั้งการอนุรักษ์  การพัฒนา  และการใช้ประโยชน์จากคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่าง
สมดุลย์และยั่งยืน  เช่น  การทำแนวปะการังเทียม  การอนุรักษ์ป่าชายเลน  การจัดการป่าต้นน้ำและป่าชุมชน  เป็นต้น 

. สาขากองทุนและธุรกิจชุมชน หมายถึง ความสามารถในการบริหารจัดการด้านการสะสมและบริการกองทุน และธุรกิจในชุมชนทั้งที่เป็นเงินตราและโภคทรัพย์ เพื่อส่งเสริมชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกในชุมชน เช่น การจัดการเรื่องกองทุนของชุมชนในรูปของสหกรณ์ออมทรัพย์ และธนาคารหมู่บ้าน เป็นต้น

. สาขาสวัสดิการ หมายถึง ความสามารถในการจัดสวัสดิการในการประกันคุณภาพชีวิตของคน ให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม เช่น การจัดตั้งกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลของชุมชน การจัดระบบสวัสดิการบริการในชุมชน การจัดระบบสิ่งแวดล้อมในชุมชน เป็นต้น.

. สาขาศิลปกรรม หมายถึง ความสามารถในการผลิตผลงานทางด้านศิลปะสาขาต่าง ๆ เช่น จิตรกรรม ปะติมากรรม วรรณกรรม ทัศนศิลป์ คีตศิลป์ ศิลปะมวยไทย เป็นต้น

. สาขาการจัดการองค์กร หมายถึง ความสามารถในการบริหารจัดการดำเนินงานขององค์กรชุมชนต่าง ๆ ให้สามารถพัฒนา และบริหารองค์กรของตนเองได้ตามบทบาท และหน้าที่ขององค์กร เช่น การจัดการองค์กรของกลุ่มแม่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มประมงพื้นบ้าน เป็นต้น

. สาขาภาษาและวรรณกรรม หมายถึง ความสามารถผลิตผลงานเกี่ยวกับด้านภาษาทั้งภาษาถิ่น ภาษาโบราณ ภาษาไทยและการใช้ภาษา ตลอดทั้งด้านวรรณกรรมทุกประเภท เช่น การจัดทำสารานุกรมภาษาถิ่น การปริวรรตหนังสือโบราณ การฟื้นฟูการเรียนการสอนภาษาถิ่นของท้องถิ่นต่างๆ เป็นต้น


๑๐. สาขาศาสนาและประเพณี หมายถึง ความสามารถประยุกต์และปรับใช้หลักธรรมคำสอนทางศาสนา ความเชื่อ และประเพณีดั้งเดิมที่มีคุณค่า ให้เหมาะสมต่อการประพฤติปฏิบัติ ให้บังเกิดผลดีต่อบุคคลและสิ่งแวดล้อม เช่น การถ่ายทอดหลักธรรมทางศาสนา การบวชป่า การประยุกต์ประเพณีบุญประทายข้าว เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น