ภูมิปัญญาไทย
ครอบครัวไทยมีปู่ย่าตายาย
พ่อแม่ลูก วงศาคณาญาติ สั่งสอนสืบทอดความคิด ความเชื่อ และความรู้ที่กลมกลืนกับวิถีชีวิต เด็กเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับธรรมชาติ ทำงานเป็น ปรับตัวได้ เติบโตเป็นผู้ใหญ่ สร้างสรรค์สังคมไทย
สังคมไทย ความเป็นชาติไทย มีฐานที่มั่นคงของภูมิปัญญาไทย คนไทยรู้จักเลือกถิ่นฐานสร้างบ้านเรือน
เรามีหมู่บ้านริมสองฝั่งคลอง บนที่ดอน บนเนิน ตามหุบเขาสร้างบ้านใต้ถุนสูง พ้นน้ำท่วม หลังคาหน้าจั่วรับลมฝน ทำเหมืองฝาย กักน้ำไว้ทำนาทำไร่
เรามีเครื่องมือทำมาหากิน มีไถ มีคราด แร้ว เบ็ดราว ระหัดวิดน้ำ ชาวสวนแช่ยาฉุน เปลือกสะเดา เพื่อพ่นทำลายแมลงที่กัดกินผลไม้
แม่บ้านเก็บดอกฝ้าย กรอใยไหม ทอลวดลายงดงาม ย้อมผ้าด้วยแก่นขนุน สีสันสดสวยของดอกไม้ เย็บเสื้อผ้าแบบไทย
ชาติไทยอักษรไทยและเลขไทยของเราเอง เรามีถ้อยคำร้อยกรองที่ไพเราะ เพลงกล่อมเด็ก
เพลงพื้นบ้าน ท่าร่ายรำที่งดงาม อ่อนช้อย
ร่าเริง สง่างาม ตามเสียงดนตรีไทย
สมุนไพรนานาชนิด
คิดค้นนำมาบดผสมเป็นยาสุชุมแก้ไข
อาหารไทยนั้นปรุงอย่างประณีต รสอร่อยเลิศ ทั้ง หลน ยำ พล่า แกง คั่ว ผัด ทอด งานครัวฝีมือปรุงหลากหลาย เช่น ปิ้ง ย่าง หลาม เผา ผิง
คำสั่งสอนชวนคิดเป็นสุภาษิต คำผญา จารึกใบลาน วรรณกรรม
ตัวอย่างที่กล่าวนำมานี้ เป็นศักดิ์ศรีของชาติ เป็นความฉลาด ความเชี่ยวชาญ ของบรรพบุรุษที่สั่งสมสืบทอดกันมาเรียกว่า ภูมิปัญญาไทย
ส่วนหนึ่งของเนื้อเพลง “เราสู้” ได้แสดงถึง พระบรมเดชานุภาพของพระมหากษัตริย์ และความกล้าหาญชาญฉลาดของบรรพบุรุษไทย ที่ได้ร่วมกันธำรงรักษาเอกราชและสร้างศักดิ์ศรีของชาติไทยมาตราบจนปัจจุบัน
คนไทยมิวิถีการดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวใหญ่ มีความรักความผูกพันในหมู่วงศาคณาญาติ ใกล้ชิดกับธรรมชาติ และมีลักษณะเป็นชุมชุนเกษตรกรรมแม้ว่าความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยจะมีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในชีวิตประจำวันและทำมาหากินในระบบอุตสาหกรรมด้วย แต่คนไทยก็ยังสามารถดำรงเอกลักษณ์และปรีชาสามารถที่บรรพชนได้สร้างสมไว้และถ่ายทอดสืบต่อกันมา
ภูมิปัญญาไทย หมายถึง ความรู้ความสามารถ วิธีการ ผลงานที่คนไทยได้ค้นคว้า รวบรวม และจัดเป็นความรู้ ถ่ายทอด ปรับปรุง จากคนรุ่นหนึ่งมาสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง จนเกิดผลิตผลที่ดี งดงาม มีคุณค่า มีประโยชน์ สามารถนำมาแก้ไขปัญหาและพัฒนาวิถีชีวิตได้
แต่ละหมู่บ้าน แต่ละชุมชนไทย ล้วนมีการทำมาหากินที่สอดคล้องกับภูมิประเทศ มีผู้นำที่มีความรู้ มีฝีมือทางช่าง สามารถคิดประดิษฐ์ ตัดสินใจแก้ปัญหาของชาวบ้านได้ ผู้นำเหล่านี้ เรียกว่า ปราชญ์ชาวบ้าน หรือผู้ทรงภูมิปัญญาไทย
ชาวบ้านรู้จักขุดบ่อน้ำ เพื่อให้มีน้ำดื่มน้ำใช้ ทำเหมืองฝายเพื่อเก็บกักน้ำและแจกจ่ายไปสู่ไร่นา ชาวบ้านมีความรู้เกี่ยวกับพืชพันธุ์ธัญญาหาร ผักพื้นบ้าน เครื่องเทศ สมุนไพร ว่าชนิดใดกินได้ ชนิดใดเป็นยารักษาได้ พ่อบ้านแม่บ้านรู้จักประดิษฐ์เครื่องมือทำมาหากิน เช่น เครื่องมือจับสัตว์ เครื่องมือทำไร่ไถนา เครื่องใช้ในครัวเรือนและสร้างที่อยู่อาศัย
พ่อแม่อบรมเลี้ยงดูลูก สั่งสอนให้เป็นคนดี มีพิธีกรรมหลายอย่าง ที่แสดงความรักความผูกพันระหว่างพ่อแม่ลูก เช่น การร่อนกระด้ง พิธีฮ้องขวัญ ผูกข้อมือ มีเพลงกล่อมเด็กที่ไพเราะ และเล่านิทานสุนก เพื่อสอนใจให้มีคุณธรรม วรรณกรรม คำสนนี้แสดงถึงความคิด ความเชื่อ และความคาดหวัง ที่ผู้ใหญ่มีต่อเด็กที่เป็นลูกหลาน ดังมีตัวอย่างสุภาษิตคำคม วรรณกรรมคำสอน และคำผญาภาษิต ในภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคอีสาน ซึ่งขอยกมาพอเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้
“เสียมบ่คม
ใส่ด้ามหนักๆ คำฮู้บ่นักหื้อหมั่นเฮียนหนังสือ”
(คำคมล้านนา)
“บ่มีความรู้
อย่าเว้าการเมือง บ่นุ่งผ้าเหลือง อย่าเว้าการวัด”
(ผญาภาษิตอีสาน)
“อย่ามัดให้เหลือแบก อย่าทำแสกให้เหลือหาบ
เขาว่าเราโลภลาภ จงแบกหาบพอสมควร”
(สุภาษิตร้อยแปด ภาคใต้)
เครื่องมือเครื่องใช้ที่คนไทยประดิษฐ์ขึ้น ล้วนใช้วัสดุพื้นบ้านและใช้ประโยชน์ได้อย่างดียิ่ง นอกจากเครื่องมือทำไร่ไถนาแล้ว เครื่องมือจับปลาก็มีมากมายหลายประเภท เช่น ลอบ ไซ สุ่ม อีจู้ เบ็ด ยอ เป็นต้น
ภูมิปัญญาไทยมีหลายสาขา ที่พอจะจัดกลุ่มได้มี ๑๐ สาขา คือ สาขาเกษตรกรรม สาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม สาขาแพทย์แผนไทย สาขาจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สาขากองทุนและธุรกิจชุมชน สาขาสวัสดิการ สาขาศิลปกรรม สาขาการจัดการองค์กร สาขาภาษาและวรรณกรรม สาขาศาสนาและประเพณี
ภูมิปัญญาไทยเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ระหว่างคนกับธรรมชาติ คนกับบุคคลอื่น และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ ทำให้เกิดความไพบูลย์ในวิถีชีวิต ความคิด ความเชื่อ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และพิธีกรรมที่สืบทอดต่อๆ กันมา
คนไทยควรคำนึงถึงคุณค่าของภูมิปัญญาไทย ยกย่องส่งเสริมผู้ทรงภูมิปัญญาให้ท่านสามารถเผยแพร่ความรู้ และธำรงรักษาเอกลักษณ์ศักดิ์ศรีของชาติไทยไว้
ประเทศไทยได้ประกาศยกย่องผู้ทรงภูมิปัญญาไทยอย่างต่อเนื่อง เช่น ศิลปินแห่งชาติ ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม และคนดีศรีสังคม เป็นต้น
นักปราชญ์ไทยที่มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม ได้รับการยกย่องจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และสุนทรภู่ เป็นต้น
การถ่ายทอดภูมิปัญญาไทย มีความเชื่อถือศรัทธาสืบต่อกันมาเป็นพื้นฐาน ประชาชนชาวไทยจึงควรสนใจศึกษาองค์ความรู้ ความคิด ความเชื่อที่ทรงคุณค่านี้ และธำรงรักษาไว้ให้คงอยู่คู่ชาติไทย
ภูมิปัญญา ตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Wisdom
หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ทักษะ ความเชื่อ และศักยภาพในการแก้ปัญหาของมนุษย์ที่สืบทอดกันมาจากอดีตถึงปัจจุบันอย่างไม่ขาดสายและเชื่อมโยงกันทั้งระบบทุกสาขา
ภูมิปัญญาไทย หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ทักษะและเทคนิคการตัดสินใจ ผลิตผลงานของบุคคล อันเกิดจากการสะสมองค์ความรู้ทุกด้านที่ผ่านกระบวนการสืบทอด พัฒนาปรับปรุง และเลือกสรรค์มาแล้วเป็นอย่างดี สามารถแก้ไขปัญหา และพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย
ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรอภูมิปัญญาชาวบ้าน หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ชาวบ้านคิดขึ้นได้เองและนำมาใช้ในการแก้ปัญหา เป็นเทคนิควิธี เป็นองค์ความรู้ของชาวบ้าน ทั้งทางกว้างและทางลึกที่ชาวบ้านคิดเอง ทำเอง โดยอาศัยศักยภาพที่มีอยู่แก้ปัญหาการดำเนินชีวิตในท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย
ความเหมือนกันของภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ เป็นองค์ความรู้ และเทคนิคที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ ซึ่งได้สืบทอดและเชื่อมโยงมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
ความต่างกันของภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ ภูมิปัญญาไทย เป็นองค์ความรู้และความสามรถในส่วนรวม เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ ส่วน ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นองค์ความรู้และความสามารถในระดับท้องถิ่น ซึ่งมีขอบเขตจำกัดในแต่ละท้องถิ่น เช่น ภาษาไทยเป็นภูมิปัญญาไทย ในขณะที่ภาษาอีสานเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น
ผู้ทรงภูมิปัญญาไทย หมายถึง บุคคลผู้เป็นเจ้าของภูมิปัญญา หรือเป็นผู้นำภูมิปัญญาต่างๆ มาใช้ประโยชน์จนประสบความสำเร็จ มีผลงานดีเด่นเป็นที่ยอมรับและได้รับการยกย่องในฐานะเป็นผู้เชี่ยวชาญ สามารถเผยแพร่และถ่ายทอดเชื่อมโยงคุณค่าของภูมิปัญญาในแต่ละสาขานั้นๆ ให้แพร่หลายไปอย่างกว้างขวาง
ปราชญ์ชาวบ้าน หมายถึง บุคคลผู้เป็นเจ้าของภูมิปัญญาชาวบ้าน และนำภูมิปัญญามาใช้ประโยชน์จนประสบความสำเร็จ และนำภูมิปัญญามาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตจนประสบผลสำเร็จสามารถถ่ายทอดเชื่อมโยงคุณค่าของอดีตกับปัจจุบันได้อย่างเหมาะสม
ความเหมือนกันระหว่างผู้ทรงภูมิปัญญาไทยกับปราชญ์ชาวบ้านคือ บทบาทและภาระกิจในการนำภูมิปัญญาไปใช้แก้ปัญหา และการถ่ายทอดเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงจากอดีตถึงปัจจุบัน ส่วนความแตกต่างกันนั้นขึ้นอยู่กับระดับภูมิปัญญาที่จะนำไปแก้ปัญหาและถ่ายทอดกล่าวคือ ผู้ทรงภูมิปัญญาไทยย่อมมีความสามรถหรือภารกิจในการนำภูมิปัญญาระดับชาติไปแก้ปัญหา หรือถ่ายทอด หรือผลิตผลงานใหม่ๆ ที่มีคุณค่าต่อประเทศชาติโดยส่วนรวม ส่วนปราชญ์ชาวบ้านมีความสามรถหรือภารกิจในการนำภูมิปัญญาชาวบ้าน หรือภูมิปัญญาท้องถิ่นไปแก้ปัญหาหรือถ่ายทอดในท้องถิ่น
อย่างไรก็ตาม ภูมิปัญญาไทย และ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ย่อมมีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกัน เพราะภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้นถือว่าเป็นฐานหลักแห่งภูมิปัญญาไทยเปรียบเหมือนฐานเจดีย์
The Wynn Resorts Casinos & Suites - jtmhub.com
ตอบลบJamboree resort features a 24/hour fitness center, 밀양 출장마사지 two nightclubs and a 서산 출장샵 spa. There's a 경기도 출장샵 fitness 서산 출장샵 center, 경주 출장마사지 a bar/lounge and a fitness center.