การส่งเสริมภูมิปัญญาไทย
เนื่องจากภูมิปัญญาไทยมีความสำคัญดังกล่าวแล้วข้างต้น
จึงจำเป็นต้องส่งเสริมให้ดำรงอยู่ เพื่อเป็นฐานความรู้ในการผสมผสานกับวิทยาการสากล
ดังนี้
๑.
ประเทศยกย่อง “ครูภูมิปัญญาไทย” ให้สามารถทำการถ่ายทอด และพัฒนาผลงานของตนได้อย่างต่อเนื่องและมีคุณภาพ โดยจัดระบบเกื้อหนุนและส่งเสริมกระบวนการถ่ายทอด
ที่ท่านเหล่านี้ดำเนินการอยู่แล้วส่วนหนึ่ง และเชื่อมโยงกระบวนการถ่ายทอดของท่าน เข้ากับกระบวนการเรียนการสอนในระบบโรงเรียน
โดยอาจจัดระบบการเทียบโอนหน่วยกิต การเทียบวุฒิเทียบตำแหน่ง เพื่อให้เกิดการลื่นไหลระหว่างความรู้
ผสานเข้าด้วยกันเป็นระบบการศึกษาที่เป็นหนึ่งเดียว
๒.
จัดให้มีศูนย์ภูมิปัญญาไทย ซึ่งแนวคิดนี้ต้องการให้มีแหล่งสำหรับการเรียนรู้ภูมิปัญญาของชุมชนนั้น
ๆ เกิดขึ้น อาจเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่แล้วในชุมชน เช่น บ้านของผู้ทรงภูมิปัญญา
วัด ศาลาของหมู่บ้าน เวทีชาวบ้าน เป็นต้น เพียงแต่เข้าไปช่วยเสริมเพื่อให้สามารถใช้สถานที่นั้น
ๆ เป็นแหล่งเรียนรู้ ถ่ายทอดภูมิปัญญาคู่กับสถานศึกษาในระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
๓.
จัดตั้งสภาภูมิปัญญาไทย เนื่องจากลักษณะภูมิปัญญาไทยมีความหลากหลายสมดุลกันเป็นองค์รวม
หากนำเรื่องภูมิปัญญาไทยเข้าไปไว้ในกระทรวงใดกระทรวงหนึ่ง หรือกรมใดกรมหนึ่ง นโยบายของกระทรวงและกรมนั้น
จะเป็นตัวกำหนดกรอบของภูมิปัญญาไทยให้จำกัดอยู่เฉพาะเรื่อง เช่น หากนำภูมิปัญญาไทยไปไว้ในกระทรวงศึกษาธิการ
ประเด็นที่จะถูกยกขึ้นมาพิจารณา คือ ภูมิปัญญาไทยนั้นต้องเป็นเรื่องของการศึกษาเท่านั้น
จึงจะได้รับการส่งเสริมและวิธีการส่งเสริมทางหนึ่งที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นไปได้สูงคือ
การนำภูมิปัญญาไทยไปบรรจุไว้ในโรงเรียน ซึ่งจะขัดกับลักษณะของภุมิปัญญาไทยที่ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับภูมิปัญญาไทยแต่ละเรื่องเท่านั้น
หากเปลี่ยนสภาพแวดล้อม การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยก็จะไม่เกิด จึงสมควรให้มีสภาภูมิปัญญาไทย
เป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนความรู้ และถ่ายทอดภูมิปัญญาของผู้ทรงภูมิปัญญา
๔.
จัดตั้งกองทุนส่งเสริมภูมิปัญญาไทย ด้วยความจำกัดของระบบการจัดสรรเงินงบประมาณจากรัฐบาล
ที่มีกฎ ระเบียบ ข้อบังคับและระยะเวลา รวมทั้งสภาวการณ์ของประเทศมาเป็นตัวตัดสินว่า
โครงการ/งานใดควรได้รับงบประมาณเท่าใด และจะได้รับเงินในปีถัดไปหรือไม่
ทำให้การดำเนินงานส่งเสริมภูมิปัญญาไทยซึ่งต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการพัฒนาและสร้างสรรค์ความรู้ใหม่จากฐานภูมิปัญญาเดิม
ต้องอาศัยระยะเวลานาน ไม่อาจกำหนดได้ชัดเจนว่าต้องใช้ระยะเวลานาน ไม่อาจกำหนดได้ชัดเจนว่าต้องใช้ระยะเวลากี่ปีจึงแล้วเสร็จ
การกำหนดงบประมาณเป็นรายปี จึงเป็นมูลเหตุขัดขวางการพัฒนาและการส่งเสริมภูมิปัญญาของชาติด้วยความร่วมมือทั้งจากภาครัฐและเอกชน
๕.
การคุ้มครองลิขสิทธิ์ภูมิปัญญาไทย เพื่อให้ภูมิปัญญาไทยอันเป็นมรดกทางปัญญาของแผ่นดินได้อยู่คู่กับคนไทย
เป็นทุนทางปัญญาในการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม
รวมทั้งวัฒนธรรมการสงวนและรักษามรดกทางภูมิปัญญาดังกล่าวจึงต้องมีระบบคุ้มครองทรัพย์สินทางภูมิปัญญาเกิดขึ้น
เพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ในท้องถิ่นและประเทศชาติ ลิขสิทธิ์ภูมิปัญญาไทยนี้จึงเปรียบเสมือนระบบคุ้มกันและส่งเสริมปัญญาของชาติ
๖.
ตั้งสถาบันแห่งชาติว่าด้วยภูมิปัญญาและการศึกษาไทย เพื่อทำหน้าที่ประสานงานและเผยแพร่ภูมิปัญญาไทย
การประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลเป็นปัจจัยสำคัญมากในการทำงานต่อภาพพจน์และสถานภาพของบุคคล
หน่วยงาน/องค์กร/สถาบันต่าง ๆ การส่งเสริมภูมิปัญญาไทยนั้นยิ่งเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างมาก
เนื่องจากกลไกสำคัญในการส่งเสริมภูมิปัญญาไทย คือการสร้างความรู้ ความเข้าใจ การสร้างจิตสำนึก
และเห็นคุณค่าของสิ่งที่เป็นภูมิปัญญาไทย การพัฒนาให้บุคคลต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทั้งสามด้าน
(ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม) จำเป็นต้องอาศัยการให้การศึกษาในทุกรูปแบบ
นั่นคือ การสร้างสังคมของผู้รับให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ภูมิปัญญาในเรื่องหนึ่ง ๆ ให้เกิดขึ้นจนผู้นั้นสามารถไปเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายการเรียนรู้ภูมิปัญญาที่กว้างขึ้น
ทั้งในส่วนของการขยายพื้นที่เรียนรู้ และขยายเรื่องที่เรียนรู้ไปสู่การเรียนรู้ในทุกเรื่อง
ทุกเวลา ทุกสถานที่ จนกลายเป็นวิถีชีวิตของคนในชุมชนท้องถิ่น และประเทศ
๗.
การประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ทรงภูมิปัญญาไทยทั้งในระดับชาติและระดับโลก
ระดับชาติ
หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนหลายองค์กร ได้ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ทรงภูมิปัญญาไทย
ในรูปแบบที่หลากหลายประจำปีอย่างต่อเนื่อง เช่น ศิลปินแห่งชาติผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม
คนดีศรีสังคม เป็นต้น มีผลทำให้ผู้ทรงภูมิปัญญาไทยมีขวัญและกำลังใจ ที่จะเผยแพร่และถ่ายทอดภูมิปัญญาของตนอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น
ระดับโลก
คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติร่วมกับองค์การศึกษาวิทยาศาตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
(ยูเนสโก) ได้ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรตินักปราชญ์ไทย
ให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก เริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ.๒๕๐๕ เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน ในวาระครบรอบ ๑๐๐ ปี
หรือ ๒๐๐ ปีฯลฯ แห่งชาติกาลของผู้ทรงภูมิปัญญาไทยแต่ละท่าน จนถึงปัจจุบัน องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
ได้ประกาศยกย่องนักปราชญ์ไทยให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลกแล้ว ๙ ท่าน
และฝ่ายไทยได้ร่วมกับยูเนสโกจัดงานเชิดชูเกียรติแล้ว ดังนี้
ครั้งที่
๑ ฉลองวันประสูติครบรอบ ๑๐๐ ปี ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อวันที่
๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๕
ครั้งที่
๒ ฉลองวันประสูติของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เมื่อวันที่
๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๐๖
ครั้งที่
๓ ฉลองวันพระราชสมภพครบ ๑๐๐ ปี ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อวันที่ ๒๔
กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๑
ครั้งที่
๔ ฉลองวันพระราชสมภพครบ ๑๐๐ ปี ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่
๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๒๔
ครั้งที่
๕ ฉลอง ๒๐๐ ปี กวีเอกสุนทรภู่ เนื่องในวาระคล้ายวันเกิด วันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๙
ครั้งที่
๖ ฉลองวันเกิดครบ ๑๐๐ ปี ของพระยานุมานราชธน วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๑
ครั้งที่
๗ ฉลองวันประสูติครบ ๒๐๐ ปี ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า พรมพระปรมานุชิตชิโนรส เมื่อวันที่
๑๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๓
ครั้งที่
๘ ฉลองวันประสูติครบ ๑๐๐ ปี ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ เมื่อวันที่
๒๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๔
ครั้งที่
๙ ฉลองงานพระราชสมภพครบ ๑๐๐ ปี ของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๕
การที่ยูเนสโกได้ประกาศยกย่องนักปราชญ์ไทยดังกล่าว
แสดงถึงจุดเด่นของภูมิปัญญาไทยในสายตาของชาวโลก ซึ่งจะนำความภาคภูมิใจมาสู่คนไทยประการทั้งปวง
เพราะยูเนสโกจะเชิญชวนให้ประชาคมโลกร่วมกับประเทศไทยจัดกิจกรรมต่าง ๆ เผยแพร่เกียรติประวัติ
และผลงานของนักปราชญ์ไทยให้เป็นที่ปรากฎ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดี และสันติภาพของโลกตามอุดมการณ์ยูเนสโกและสหประชาชาติด้วย
เช่น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา
กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงพระกรุณาเสด็จฯ เยือนสำนักงานใหญ่ยูเนสโก เนื่องในวโรกาสการจัดนิทรรศการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระบรมราชชนก
ระหว่างวันที่๑๘ - ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๕ เป็นต้น โดยทรงเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดนิทรรศการ และทรงบรรยายถึงพระราชประวัติ
พระราชกรณีกิจและพระราชจริยวัตรอันงดงามของสมเด็จพระบรมราชชนก ให้ชาวไทยและชาวต่างประเทศที่มาร่วมงานนิทรรศการได้ทราบและชื่นชมโดยทั่วกัน
ต่อมาในวันที่ ๒๐ พฤษภาคม
พ.ศ.๒๕๓๕ ได้มีการแสดงคอนเสิร์ตในห้องประชุมใหญ่ของยูเนสโก
เริ่มด้วยวงออร์เคสตราของนักดนตรีวัยเยาว์อายุระหว่าง ๑๑ - ๑๘
ปี บรรเลงเพลงพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และพระองค์ได้ทรงพระกรุราร่วมแสดงด้วย
ทำให้เกิดความประทับใจแก่บรรดาผู้ฟังเป็นอย่างยิ่ง